44 ปี วัดพระธรรมกาย กว่า 100 โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
44 ปี วัดพระธรรมกาย กว่า 100 โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
โดยการนำของพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)
- เพื่อเพิ่มศาสนทายาทกับโครงการอบรมธรรมทายาท และบรรพชาอุปสมบทหมู่
- เพื่อฟื้นฟูวัดร้างให้เป็นวัดรุ่งกับโครงการธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
- เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลกกับโครงการสำหรับประชาชน
- โครงการด้านการคณะสงฆ์
- โครงการด้านการศึกษา
- โครงการด้านเยาวชน
- โครงการเผยแผ่ในต่างประเทศ
- งานด้านการผลิตและเผยแพร่สื่อธรรมะ
- งานด้านสาธารณสงเคราะห์
เพื่อเพิ่มศาสนทายาทกับโครงการอบรมธรรมทายาท และบรรพชาอุปสมบทหมู่ จำนวน 30 โครงการ
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 8 (ภาคเข้าพรรษา) ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม ถึง วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 7 (ภาคฤดูร้อน) ระหว่างวันที่ 11 มีนาคม ถึง วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2556
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 6 (ภาคเข้าพรรษา) ระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม ถึง วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 5 (ภาคฤดูร้อน) ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2555
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 4 (ภาคเข้าพรรษา) ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2554
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 3 (ภาคฤดูร้อน) ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2554
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 2 (ภาคเข้าพรรษา) ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
- โครงการอุปสมบทหมู่ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ครั้งที่ 1 (ภาคฤดูร้อน) ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2553
- โครงการธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ ระดับอุดมศึกษา ภาคฤดูร้อน เริ่มปี พ.ศ.2515 – พ.ศ.2556 มีผู้ผ่านการอบรมแล้วกว่า 12,000 รูป
- โครงการธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ รุ่นเข้าพรรษา เริ่มปี พ.ศ.2528 สถิติถึงปี พ.ศ.2556 รวม 3,000 รูป
- โครงอุปสมบทหมู่นักเรียนนายร้อยทหาร – ตำรวจ เริ่มปี พ.ศ.2528 – พ.ศ.2542 กว่า 530 รูป
- โครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรมพระเทพญาณมหามุนี เริ่มต้นปี พ.ศ.2537 เมื่อวาระที่พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) มีอายุครบ 50 ปี หลังจากนั้นมีการจัดบวชบูชาธรรมตลอดต่อเนื่องทุกปี สถิติถึงปี พ.ศ.2556 รวมกว่า 2,700 รูป
- โครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรมคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เริ่มต้นปี พ.ศ.2552 ในวาระครบ 100 ปี คุณยายอาจารย์ฯ หลังจากนั้นมีการจัดบวชบูชาธรรมตลอดต่อเนื่องทุกปี สถิติถึงปี พ.ศ.2556 กว่า 500 รูป
- โครงการธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ ครูผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลก ช่วงเดือนเมษายน เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2552
- โครงการอุปสมบทหมู่ ระดับผู้บริหาร เริ่มปี พ.ศ.2547 ช่วงระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน ถึง วันที่12 ธันวาคม ของทุกปี ระยะเวลา 23 วัน
- โครงการบรรพชาสามเณรแก้ว 13,842 รูป เพื่ออัญเชิญ “พระบรมพุทธเจ้า” ประดิษฐาน ณ มหาธรรมกายเจดีย์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
- โครงการอบรมมัชฌิมธรรมทายาทชาย ระดับมัธยมปลาย เริ่มปี พ.ศ.2537, ระดับมัธยมต้น เริ่มปี พ.ศ.2546 สถิติถึงปี พ.ศ.2556 กว่า 3,500 รูป
- โครงการอบรมยุวธรรมทายาท (ประถมปลาย) เริ่มปี พ.ศ.2531 – พ.ศ.2555 ผู้ร่วมโครงการรวมกว่า 7,000 คน
- โครงการยุวชนรอบวัด เริ่มครั้งแรกปี พ.ศ.2551 – พ.ศ.2556 รวมสามเณรเข้าอบรมแล้วกว่า 500 รูป
- โครงการหน่อแก้วเปรียญธรรม เริ่มอบรมครั้งแรกในปี พ.ศ.2554 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการหน่อแก้วเปรียญธรรม” ปัจจุบันมีสามเณรบวชในโครงการจำนวน 300 รูป และบวชอยู่ต่อจำนวน 110 รูป
- โครงการอบรมสามเณร ณ วัดศูนย์สาขาภายในประเทศ เริ่มในปี พ.ศ.2540 กว่า 30 แห่ง โดยแต่ละปีมีเยาวชนมาบวชว่า 1,000 คน ทั่วประเทศ
- โครงการบรรพชาสามเณร โรงเรียนนานาชาติ เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2549 ช่วงเดือนกรกฎาคม ระยะเวลา 22 วัน
- โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทนานาชาติ (IDOP: International Dhammadayada Ordination Program) เริ่มมีการอบรมให้แก่ชาวต่างชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการจากทั่วโลกจำนวนถึง 350 คน จาก 37 ประเทศทั่วทุกทวีป
- โครงการบรรพชาอุปสมบทธรรมทายาท รุ่นแรก ในทวีปยุโรป จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2556 จำนวน 47 รูป ณ วัดพระธรรมกายเบเนลักซ์ ประเทศเบลเยียม
- โครงการอบรมธรรมทายาท ภาคภาษาจีน เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2539, ธรรมทายาท ภาคภาษากัมพูชา เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2542
- โครงการบรรพชาอุปสมบทธรรมทายาท ชาวญี่ปุ่น เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2552 จำนวน 24 รูป และจัดอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2556 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 14 รูป
- โครงการสามเณรเปรียญธรรม เพื่อรับเป็นสามเณรประจำของวัดพระธรรมกาย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2528 ปัจจุบันมีสามเณรประจำในวัดพระธรรมกายกว่า 400 รูป
- โครงการบรรพชาสามเณรมัธยมปลายต้นแบบ สู่ เออีซี (AEC: Asean Economics Community) เริ่มปี พ.ศ.2557 เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมอย่างยั่งยืน
- โครงการอบรมธรรมทายาทหญิง ระดับอุดมศึกษา เริ่มปี พ.ศ.2529 – พ.ศ.2556 มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 6,500 คน
- โครงการอบรมมัชฌิมธรรมทายาทหญิง เริ่มปี พ.ศ.2537 – พ.ศ.2556 ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 20 รวมมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 2,400 คน
- โครงการธุดงค์ธรรมชัย เพื่อการฟื้นฟูวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง เริ่มปี พ.ศ.2553
- โครงการธุดงค์อัญเชิญรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ระหว่างวันที่ 2 – วันที่6 เมษายน พ.ศ.2555 โดยพระสงฆ์จากทั่วประเทศ จำนวน 1,500 รูป
- โครงการธุดงค์ธรรมชัย สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 1 ระหว่างวันที่ 2 – วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2555 โดยคณะพระธุดงค์ธรรมชัยกว่า 1,127 รูป
- โครงการธุดงค์ธรรมชัย สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 2 – วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2556 โดยคณะพระธุดงค์ธรรมชัยจำนวน 1,128 รูป
เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลกกับโครงการสำหรับประชาชน จำนวน 23 โครงการ
- โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จำนวน 7 องค์ เพื่อเป็นที่สักการบูชาแก่ ศิษยานุศิษย์และสาธุชน โดยนำไปประดิษฐาน ณ สถานที่สำคัญในชีวประวัติของหลวงปู่วัดปากน้ำฯ
- โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2554 ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ และศูนย์สาขาทุกทวีปทั่วโลก
- โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน ระหว่างวันที่ 16 – วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2553 ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ และศูนย์สาขาทุกทวีปทั่วโลก
- โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 500,000 คน ระหว่างวันที่ 16 – วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2553 ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ และศูนย์สาขาทุกทวีปทั่วโลก
- โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 100,000 คน ระหว่างวันที่ 8 – วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2553 ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ และศูนย์สาขาทุกทวีปทั่วโลก
- โครงการบวชอุบาสิกาแก้ว ถวายเป็นพระราชกุศล แด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 7 – วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2541 จำนวนกว่า 140,000 คน
- โครงการบวชอุบาสกแก้ว ถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 29 – วันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2542 จำนวนร่วม 200,000 คน
- โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก (World-PEC : World-Peace Ethics Contest) เริ่มโครงการเมื่อปี พ.ศ.2549 มีผู้สมัครสอบกว่า 100,000 คน รวม 72 เชื้อชาติ จาก 6 ทวีปทั่วโลก
- โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก ระดับเยาวชนนานาชาติ ภาคภาษาอังกฤษและภาษาจีน (World Peace Ethics Contest for Young People) จัดสอบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2551 ปัจจุบันมีเยาวชนกว่า 20 เชื้อชาติ อาทิ อังกฤษ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินเดีย บังกลาเทศ จีน ไต้หวัน ฯลฯ เข้าร่วมโครงการแล้วจำนวนกว่า 30,000 คน
- โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก ระดับเยาวชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาคภาษาลาว เริ่มจัดสอบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2553 เยาวชนระดับชั้น ป.3 – ป.7 ในปี พ.ศ.2556 จัดสอบเป็น 4 ปี รวมมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 40,000 คน
- โครงการบ้านกัลยาณมิตร เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2542 ต่อมาในปี พ.ศ.2553 ปรับเป็น “โครงการบ้านกัลยาณมิตร Change the World” เป็นโครงการจัดปฏิบัติธรรมแก่ประชาชนตามที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงาน
- โครงการบ้านแสงสว่าง ช่วงปี พ.ศ.2542 – พ.ศ.2547 ได้ร่วมกับชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ เปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วประเทศที่เข้าโครงการได้ทำความดีที่บ้านและโรงเรียน แล้วจดบันทึกความดีของตัวเองและความดีที่มองเห็นจากบุคคลรอบข้าง (ทั้งครูอาจารย์และพ่อแม่)
- โครงการธุดงค์เฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2529 – วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2530 จัดขึ้น 136 ครั้ง ใน 61 จังหวัด มีพระภิกษุ – สามเณรเข้าร่วมอยู่ธุดงค์ 6,467 รูป และประชาชนร่วมธุดงค์ 137,138 คน
- โครงการธุดงค์ปีใหม่ จัดเป็นประจำทุกปี เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2529 โดยเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกันในช่วงวันหยุดปีใหม่ สามารถร่วมกิจกรรมกันได้ทั้งครอบครัว
- โครงการธุดงค์แก้ว ศุกร์ – เสาร์ – อาทิตย์ เริ่มปี พ.ศ.2548 เพื่อให้สาธุชนมาปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ถือศีล 8 ปัจจุบันปรับเป็นโครงการสมาธิสุดสัปดาห์ (ศุกร์ – เสาร์ – อาทิตย์ 3 วัน 2 คืน) จัดปฏิบัติธรรมและฟังธรรมนอกสถานที่ ตามต่างจังหวัด เพื่อให้ผู้สนใจทั่วทุกภาคได้เข้าร่วมกิจกรรมในภูมิภาคของตนเอง
- โครงการธรรมยาตรา โดยจัดวิทยากรไปบรรยายธรรมทั่วประเทศ (รวม 57 จังหวัด) จัดขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม ปี พ.ศ.2529 – พ.ศ.2531 มีผู้เข้าฟังบรรยายรวมทั้งสิ้น 138,159 คน
- โครงการมาวัดทุกวันอาทิตย์ เริ่มตั้งแต่สร้างวัดพระธรรมกาย (พ.ศ.2513) โดยในช่วงเช้า จัดกิจกรรมนั่งสมาธิและถวายภัตตาหารเพล ในช่วงบ่ายจัดกิจกรรมนั่งสมาธิและฟังธรรม ต่อมาได้เพิ่มกิจกรรมในช่วงเย็น คือ พิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์
- โครงการปฏิบัติธรรมพิเศษ “ดอกไม้บาน” ระยะเวลา 1 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2525
- โครงการสมาธิแก้ว ระยะเวลา 1 เดือน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 โดยอบรมธรรมะสำหรับฆราวาส ให้เห็นคุณค่าของการฝึกตนเอง รักการทำงานเป็นหมู่คณะ โดยมีหลัก “วินัย เคารพ อดทน” เป็นคุณธรรมพื้นฐาน
- โครงการปฏิบัติธรรมกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ในวันที่ 15 มิถุนายน – วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2553 รุ่นละ 1 สัปดาห์ จำนวน 750 คน
- โครงการบัณฑิตอาสาฟื้นฟูศีลธรรมโลก เริ่มปี พ.ศ.2553 รับผู้จบปริญญาตรีทั้งชายและหญิง อายุไม่เกิน 35 ปี รักษาศีล 8 ช่วยงานในโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่กว่า 130 คน
- โครงการอาสาสมัครฟื้นฟูศีลธรรมโลก เริ่มปี พ.ศ.2553 รับผู้จบการศึกษาตั้งแต่ ม.6 ขึ้นไป อายุระหว่าง 18 – 50 ปี สำหรับผู้นำบุญ รับผู้จบการศึกษาตั้งแต่ ป.4 ขึ้นไป อายุไม่เกิน 60 ปี เพื่อช่วยงานศูนย์อบรมธรรมทายาทและศูนย์อบรมอุบาสิกาแก้ว ทั่วประเทศ
- โครงการอาสาแก้วภูธร ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 รับผู้จบการศึกษาตั้งแต่ ม.6 ขึ้นไป อายุไม่เกิน 35 ปี เพื่อช่วยงานศูนย์อบรมทั่วประเทศ
โครงการด้านการคณะสงฆ์ จำนวน 8 โครงการ
- โครงการเจริญพุทธมนต์ 5 ธันวามหาราช จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2546 ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2556 (จัดขึ้นเป็นปีที่ 15)
- โครงการมุทิตาสักการะพระภิกษุ – สามเณรเปรียญธรรม 9 ประโยค เริ่มปี พ.ศ.2530 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนสิงหาคม นับถึงปี พ.ศ.2556 เป็นครั้งที่ 26 โดยมีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ร่วมรับถวายมุทิตา จำนวน 1,132 รูป รวมมอบทุนการศึกษากว่า 7,924,000 บาท
- โครงการถวายทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนบาลีทั่วประเทศ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2546 นับถึงปี พ.ศ.2556 เป็นครั้งที่ 10 โดยมอบทุนการศึกษาแก่สำนักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดในแต่ละประเภท รวมมอบทุนการศึกษา ปีละกว่า 4,000,000 บาท
- โครงการมอบทุนการศึกษาสำหรับพระภิกษุ – สามเณร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ถึงปัจจุบัน มีผู้รับทุนไปแล้วกว่า 100,000 รูป
- โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก สำหรับบรรพชิต (World – PEC for Monk) จัดสอบครั้งแรกในวันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2552 มีพระสงฆ์เข้าสอบจำนวน 48,060 รูป และถวายรางวัลเพื่อนำไปพัฒนางานเผยแผ่พระพุทธศาสนากว่า 15 ล้านบาท
- โครงการตอบปัญหาทางก้าวหน้าพระแท้ ครั้งที่ 1 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2542 และครั้งที่ 2 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2544 มีพระภิกษุร่วมเข้าสอบ รวมจำนวนกว่า 200,000 รูป
- โครงการถวายมหาสังฆทานแด่วัดต่างๆทั่วประเทศ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2545 เริ่มต้นจากจำนวน 1,000 วัด แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 วัด, 3,000 วัด, 5,000 วัด, 10,000 วัด, 20,000 วัด และ 30,000 วัด ทั่วประเทศ เป็นลำดับ และจัดอย่างตลอดต่อเนื่องในวันที่ 22 เมษายน ของทุกปี (นับถึงปี พ.ศ.2556 รวม 11ปี)
- โครงการอบรมสัมมนาพระกัลยาณมิตร เริ่มปี พ.ศ.2543 จนถึง 25 มีนาคม พ.ศ.2552 มีพระภิกษุจากทั่วประเทศผ่านการอบรมแล้ว 80 รุ่น เป็นจำนวน 10,278 รูป
โครงการด้านการศึกษา จำนวน 13 โครงการ
- โครงการมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย (DOU: Dhammakaya Open University, California) เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ในระบบการศึกษาทางไกล จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามรัฐบัญญัติการอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาเอกชนมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
- โครงการพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ ภาษาบาลี อักษรโรมัน โดยผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาจากทั่วโลก 51 ท่าน จากมหาวิทยาลัยต่างๆใน 14 ประเทศ เป็นที่ปรึกษา เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.2527 และเสร็จสมบูรณ์ออกเผยแพร่ทั่วโลกเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2539
- โครงการสถาบันภาษาดวงตะวันสันติภาพ (The Sun of Peace) เริ่มปี พ.ศ.2550 มอบ “ทุนการศึกษาตะวันธรรม” ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ให้กับเยาวชนที่สนใจเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
- โครงการโรงเรียนพระปริยัติธรรม ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปีพ.ศ.2528 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 – พ.ศ.2556 มีพระภิกษุ – สามเณรสอบผ่านเปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 65 รูป
- โครงการโรงเรียนเตรียมพุทธศาสตร์ (โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา) เริ่มต้นในปี พ.ศ.2543
- โครงการนักธรรมและธรรมศึกษา เริ่มต้นในปี พ.ศ.2528 และในปี พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา มีจำนวนนักเรียน – นักศึกษา 4,915 รูป/คน โดยแบ่งเป็นพระภิกษุ – สามเณร 1,976 รูป (นักธรรม) และฆราวาส 2,939 คน (ธรรมศึกษา)
- โครงการอภิธรรมศึกษา เริ่มในปี พ.ศ.2542
- โครงการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีน ระหว่างสถาบันธรรมชัย ประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ.2551
- โครงการความร่วมมือทำพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ ระหว่างสถาบันธรรมชัย ประเทศไทย กับ สมาคม SAT แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ.2552
- โครงการความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันธรรมชัย ประเทศไทย กับ มหาวิทยาลัยเฉวียนจั้ง ประเทศไต้หวัน เพื่อแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา ในปี พ.ศ.2552
- โครงการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษและภาษสิงหล ระหว่างสถาบันธรรมชัย ประเทศไทย กับ สถาบันซีบ้า (SIBA) ประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ.2553
- โครงการพระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย เล่มสาธิต ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2570
- โครงการความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ 3 สถาบันการศึกษาประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2554 เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยภายใต้หัวข้อ “พระพุทธศาสนาเถรวาท: ความต่อเนื่องและความหลากหลาย” ได้แก่ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด, มหาวิทยาลัยลอนดอน คิงส์คอลเลจ และ มหาวิทยาลัยคอลเลจ คอร์ก โดยเริ่มในปี พ.ศ.2554 – พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา
โครงการด้านเยาวชน จำนวน 8 โครงการ
- โครงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่เยาวชน ระดับประถมและมัธยมศึกษา ทั่วประเทศ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ คือ นักเรียนที่เข้าโครงการมีสมาธิและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนดีขึ้น โครงการนี้มีสถานศึกษาเข้าร่วม 110 แห่ง รวมนักเรียนที่เข้ารับอบรม 35,145 คน
- โครงการเด็กดีวีสตาร์ (V-Star: The Virtuous Star) ฟื้นฟูศีลธรรมโลก ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2556 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8
- โครงการสอบตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ร่วมกับชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เริ่มปี พ.ศ.2525 ปัจจุบันมีนักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้าร่วมโครงการสอบ ปีละกว่า 5 ล้านคน จากกว่า 20,000 โรงเรียนทั่วประเทศ
- โครงการอาสาสมัครวัดพระธรรมกาย เพื่อให้เยาวชนได้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ปัจจุบันมีอาสาสมัครมาร่วมโครงการที่วัดเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ มีอาสาสมัครพิเศษ ประมาณ 100,000 คน
- โครงการยุวกัลยาณมิตร เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 เพื่อสอนการปฏิบัติธรรมและปลูกฝังคุณธรรมความดีให้กับเยาวชนเติบโตขึ้นเป็นทั้งคนเก่งและดี
- โครงการซูเปอร์คิดส์ (Super Kids) รับเยาวชนอายุ 8 – 12 ปี ร่วมกิจกรรมในเดือนมีนาคม ระยะเวลา 7 วัน เพื่อฟังธรรม นั่งสมาธิ ฐานกิจกรรมพัฒนาทักษะความคิด ศิลปะประดิษฐ์ ทัศนะศึกษา ปล่อยปลา ร้องเพลง เป็นต้น
- โครงการมอบทุนเยาวชนผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลก ในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 – พ.ศ.2555 มอบทุนแก่เยาวชนแล้วจำนวนกว่า 220,000 คน รวมกว่า 110 ล้านบาท
- โครงการทอดกฐินสัมฤทธิ์ (กฐินตกค้าง) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ.2551 จนถึงปี พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา มีเยาวชนจำนวน 2,332 โรงเรียน ได้ถวายกฐินสัมฤทธิ์ จำนวนกว่า 2,674 วัด ทั่วประเทศ รวมปัจจัยทำบุญถึงกว่า 450 ล้านบาท
โครงการเผยแผ่ในต่างประเทศ จำนวน 15 โครงการ
- โครงการ Peace Agent Summit เป็นโครงการสำหรับชาวต่างชาติทั่วโลกที่สนใจการปฏิบัติธรรม ผ่านทาง www.peacerevolution.net เริ่มในปี พ.ศ.2553 จนถึงปัจจุบัน มีสมาชิก 24,200 คน จาก 198 ประเทศ
- โครงการถวายพระประธานแด่วัดพุทธในต่างประเทศ เริ่มในปี พ.ศ.2550 โดยถวายพระประธานแด่วัดต่างๆในประเทศศรีลังกา จำนวน 222 องค์ ประเทศบังคลาเทศ จำนวน 250 องค์ รวม 472 องค์
- โครงการอบรมพระภิกษุสามเณรธรรมทายาทนานาชาติ ณ ศูนย์สาขาต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2553 จัดอบรม 20 ศูนย์ ใน 12 ประเทศ ผู้มีเข้าอบรมจาก 23 สัญชาติ รวมกว่า 800 รูป ทั่วโลก
- โครงการความร่วมมือจัดสอบ World – PEC กับรัฐบาลประเทศศรีลังกา เริ่มในปี พ.ศ.2553
- โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ประเทศคองโก ระหว่างวันที่ 13 – วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2553 มีสตรีชาวคองโกเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 30 คน
- โครงการบวชอุบาสก – อุบาสิกาแก้ว ณ เมืองมุมไบและกัลป์ยัน ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 19 – วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2553 มีผู้ร่วมโครงการนี้กว่า 1,000 คน
- โครงการวิสาขบูชานานาชาติ ณ ประเทศมองโกเลีย เริ่มในปี พ.ศ.2551
- โครงการวิสาขบูชานานาชาติ ณ บรมพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มในปี พ.ศ.2553
- โครงการวิสาขบูชานานาชาติ ณ ประเทศสิงคโปร์ เริ่มในปี พ.ศ.2553
- โครงการวิสาขบูชานานาชาติ ณ ประเทศอินเดีย เริ่มในปี พ.ศ.2553
- โครงการวีสตาร์ (V-Star) ประเทศมองโกเลีย เริ่มต้นในปี พ.ศ.2552
- โครงการจุดประทีมโคมลานและโคมลอยเพื่อสันติภาพโลก เริ่มเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2556 โดยประกอบพิธีจุดประทีปและลอยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้ากว่า 15,185 โคม ภายใน 10 นาที มากที่สุดในโลก
- โครงการความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานีโทรทัศน์ The Buddhist TV Channel ประเทศศรีลังกา กับ สถานีโทรทัศน์ DMC ประเทศไทย ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2553
- โครงการสอบธรรมสนามหลวงในต่างประเทศ เริ่มในปี พ.ศ.2553
- โครงการธรรมทายาทหญิงนานาชาติ เริ่มต้นในปี พ.ศ.2551 ณ ประเทศสวีเดน
งานด้านการผลิตและเผยแพร่สื่อธรรมะ จำนวน 10 โครงการ
- โครงการเผยแพร่สื่อธรรมะ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เนื้อหาเข้าใจง่าย เห็นเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
- โครงการเผยแพร่ธรรมะ 24 ชั่วโมง ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อพระพุทธศาสนาผ่านด่าวเทียม ช่อง DMC เผยแพร่ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย, อังกฤษ, จีน และญี่ปุ่น
- โครงการ “ธรรมะเพื่อประชาชน” ผลิตบทเทศน์กว่า 1,000 บท โดยพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เริ่มต้นในปี พ.ศ.2547
- โครงการ “วารสารกัลยาณมิตร” ระหว่างปี พ.ศ.2529 – พ.ศ.2545
- โครงการ “จดหมายข่าวสหธรรมิก” เริ่มปี พ.ศ.2538 จนถึงปัจจุบัน
- โครงการ “วารสารพระสังฆาธิการ” เริ่ม พ.ศ.2540 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ข่าวคณะสงฆ์ทั่วประเทศ
- โครงการ “วารสารอยู่ในบุญ” เริ่มปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน พิมพ์เผยแพร่กิจกรรมงานบุญเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทั้งในและต่างประเทศ เดือนละ 50,000 เล่ม
- โครงการมอบสื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแก่โรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2551 มอบสื่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก กว่า 5,000 โรงเรียน
- โครงการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่ออินเทอร์เน็ท โดยมีเว็บไซท์ ดังนี้ www.dhammakaya.net. www.dmc.tv, www.kalyanamitra.org มีผู้เข้าชมกว่า 10,000 คนต่อวัน
- โครงการเผยแพร่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยผ่านเฟสบุ๊ค DMC.tv: Dhamma Media Channel (www.facebook.com/dmc072) มีผู้ติดตามจำนวน 219,977 คน
งานด้านสาธารณสงเคราะห์ 17 โครงการ
- โครงการสนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2551 ณ อาศรมบัณฑิต วัดพระธรรมกาย โดยมูลนิธิธรรมกายบริจาคเงิน 27 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงอาคารหอผู้ป่วยสามัญ
- โครงการมอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2554 มูลนิธิธรรมกายมอบเงิน 200,000 บาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติและสึนามิแก่ประเทศญี่ปุ่น ผ่านทางครอบครัวข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- โครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย จัดมาแล้ว 547 ครั้ง รวมจำนวนพระภิกษุ 1,318,000 รูป
- โครงการตักบาตรพระ 1 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย เริ่มต้นในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2553 และครบ 1,000,000 รูป เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2555 คือ พิธีตักบาตรพระ ณ ถนนลาดหญ้า – วงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
- โครงการตักบาตรพระ 500,000 รูป 76 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย จัดครั้งแรกที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 จัดไปทั้งสิ้น 245 ครั้ง จำนวนพระภิกษุ 500,222 รูป
- โครงการถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มในปี พ.ศ.2548 – พ.ศ.2557 จัดมาแล้ว 98 ครั้ง (ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2556) รวมจตุปัจจัยไทยธรรมจำนวนกว่า 300 ล้านบาท
- โครงการกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2551 ปัจจุบันเป็นครั้งที่ 60 รวมมอบทุนไปแล้ว 29,246 กองทุน เป็นเงินกว่า 60,406,000 บาท
- โครงการทอดผ้าป่าช่วยเหลือวัดที่ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ.2549 – พ.ศ.2552 วัดที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 3,000 วัด จาก 16 จังหวัด และมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนผู้ประสบภัย รวมมูลค่ากว่า 16 ล้านบาท
- โครงการบำเพ็ญกุศลแก่ผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ (สึนามิ) ที่จังหวัดภูเก็ต วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ.2548 และที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ.2548
- โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ.2549 รวม 18 จังหวัด ทั้งหมด168 อำเภอ จำนวนกว่า 52,000 ครัวเรือน รวม 230,000 คน โดยมอบถุงยังชีพ 50,202 ชุด รวมเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคกว่า 2 ล้านชิ้น
- โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ.2553 มอบถุงยังชีพใน 20 จังหวัด เป็นจำนวนกว่า 60 วัด รวมเป็นถุงยังชีพกว่า 40,000 ชุด รวมน้ำหนักกว่า 80 ตัน
- โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ.2554 ในช่วงปลายปี พ.ศ.2554 ได้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 30 จังหวัด จำนวน 400,000 ชุด
- โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ.2556 ได้นำถุงยังชีพจำนวนกว่า 15,000 ชุด ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 7 จังหวัด รวมกว่า 9,000 ครัวเรือน
- โครงการช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยไซโคลนนากีส ประเทศสหภาพพม่า ในปี พ.ศ.2551 ได้มอบถุงยังชีพเป็นจำนวนกว่า 20,000 ชุด ได้แก่ ยารักษาโรค, น้ำดื่ม, เครื่องอุปโภค และผ้าไตรจีวร รวมมูลค่าว่า 7,000,000 บาท พร้อมทั้งส่งหน่วยแพทย์และพยาบาลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆของประเทศพม่า
- โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ในสหรัฐอเมริกา วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2550
- โครงการเทเหล้า – เผาบุหรี่ เริ่มปี พ.ศ.2546 และได้รับรางวัล World No Tobacco Day Awards เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2547
- โครงการชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ปัจจุบัน: พระเทพญาณมหามุนี) เริ่มก่อตั้งปี พ.ศ.2541
จากกว่า 100 โครงการ โดยดำริพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ จนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากหน่วยงานต่างๆมากมาย อาทิ
- รางวัลเหรียญเกียรติยศ มหาตมะ คานธี เพื่อสันติภาพ จากองค์กร Akhil Bharat Rachanatmak Samaj
- รางวัล World No Tobacco Day Awards 2004 จากองค์การอนามัยโลก
- รางวัล Universal Peace Award จากผู้นำชาวพุทธประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมยุวพุทธสงฆ์โลก (WBSY) ครั้งที่ 3 ณ ประเทศศรีลังกา
- รางวัลมาตรฐานการผลิตสื่อ Telly Awards ครั้งที่ 28 จากประเทศสหรัฐอเมริกา
- รางวัล Noble Peace Award หรือ รางวัลสันติภาพโลกระดับสูงสุด จากองค์กรยุวพุทธสงฆ์โลก ประเทศศรีลังกา
- รางวัลประกาศเกียรติคุณ Guinness World Records การเดินทางด้วยเท้าบนกลีบดอกไม้ที่ยาวที่สุดในโลก
บทความที่เกี่ยวข้อง: